วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

วรรณกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

วรรณกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
วรรณกรรมท้องถิ่นภาคตะวันออกเฉียงเหนือ นิยมใช้เนื้อหาเป็นเกณฑ์โดยแบ่งเป็น ๕ ประเภท ได้แก่ วรรณกรรมพุทธศาสนาวรรณกรรมประวัติศาสตร์ วรรณกรรมนิทาน วรรณกรรมคำกลอน และวรรณกรรมเบ็ดเตล็ด แต่ละรูปแบบมีรายละเอียดดังนี้  
๑. วรรณกรรมพุทธศาสนาวรรณกรรมพุทธศาสนา ได้แก่ วรรณกรรมชาดก และวรรณกรรมตำนานพุทธศาสนาวรรณกรรมชาดก คือ วรรณกรรมที่พระภิกษุนำมาเทศน์ เช่น ลำมหาชาติ สุวรรณสังข์ชาดก ท้าวโสวัต พระยาคันคาก มาลัยหมื่นมาลัยแสนวรรณกรรมตำนานพุทธศาสนา คือ วรรณกรรมที่กล่าวถึงตำนานพุทธเจดีย์ในภาคอีสานหรือแนวคิด หลักธรรมของศาสนาพุทธ เช่น อุรังคนิทาน (ตำนานพระธาตุพนม) มูลสถาปนา (ตำนานกำเนิดโลกและจักรวาล) กาลนับมื้อส้วย (พุทธทำนายการสิ้นสุดศาสนา พ.ศ. ๕๐๐๐)  
๒. วรรณกรรมประวัติศาสตร์ วรรณกรรมประเภทนี้มีจำนวนน้อยกว่าวรรณกรรมพุทธศาสนา ตัวอย่างเช่น มหากาพย์ ท้าวฮุ่งท้าวเจือง ขุนบรม พื้นเวียง พงศาวดารจำปาศักดิ์ 
๓. วรรณกรรมนิทาน ภาคอีสานมีวรรณกรรมนิทานเป็นจำนวนมาก นิยมนำมาอ่านให้ฟังในงานเฮือนดี (งานศพ) หรือนำมาเทศน์ในระหว่างเข้าพรรษาที่เรียกว่า เทศน์ไตรมาส นอกจากนี้ หมอลำยังนิยมนำวรรณกรรมนิทานมาขับลำในการแสดงที่เรียกว่าลำเรื่อง หรือลำพื้น ตัวอย่างวรรณกรรมนิทนที่สำคัญและได้รับความนิยม เช่น สินไซ ไก่แก้ว นางผมหอม จำปาสี่ต้น กำพร้าผีน้อย ท้าวสีทน พระลักพระลาม นางแตงอ่อน กาละเกด ผาแดง – นางไอ่ ขูลู – นางอั้ว   
๔. วรรณกรรมคำสอน วรรณกรรมรูปแบบนี้มีเนื้อหาสอนใจ ในแนวทางดำเนินชีวิตในครอบครัวและ
สังคม โดยยึดคติธรรมในศาสนาและจารีตท้องถิ่น ตัวอย่างเช่น กาพย์ปู่สอนหลาน กาพย์หลานสอนปู่ฮีตสิบสองคองสิบสี่ อินทิญาณสอนลูก พระยาคำกองสอนไพร่๕. วรรณกรรมเบ็ดเตล็ดวรรณกรรมรูปแบบนี้ ได้แก่ วรรณกรรมที่ใช้ในพิธีกรรมต่างๆ เช่น บทสูดขวน(บทสู่ขวัญ)กาพย์เซิ้งบั้งไฟ วรรณกรรมที่ใช้เกี้ยวพาราสีนี้เรียกว่า ผญา นิทานตลกขบขัน เช่นเซียงเมี่ยง โตงโตง นิทานก้อม และกลอนรำต่างๆ





บล็อกนี้ใช้สำหรับวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น


ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น