วันศุกร์ที่ 18 กันยายน พ.ศ. 2558

วรรณกรรมท้องถิ่น ๔ ภาค


วรรณกรรมท้องถิ่นไทย ๔ ภาค

วรรณกรรมท้องถิ่น หมายถึง ผลงานที่เกิดขึ้นจากการใช้ภาษาโดยการพูดและการเขียนของกลุ่มชนในแต่ละท้องถิ่น เช่น วรรณกรรมท้องถิ่นภาคเหนือ วรรณกรรมท้องถิ่นภาคอีสาน วรรณกรรมท้องถิ่นภาคใต้ เป็นต้น ซื่งในแต่ละท้องถิ่นก็จะใช้ภาษาพื้นบ้านในการถ่ายทอดเป็นเอกลักษณ์








วรรณกรรมที่สื่อเรื่องราวด้านต่างๆ ของท้องถิ่นใดท้องถิ่นหนึ่งโดยเฉพาะ เช่น จารีตประเพณี ชีวิตความเป็นอยู่ สภาพเศรษฐกิจและสังคม ทัศนคติ ค่านิยม ตลอดจนความเชื่อต่างๆ ของบรรพบุรุษ อันเป็นพื้นฐานของความคิดและพฤติกรรมของคนในปัจจุบัน



จำแนกโดยอาศัยเขตท้องถิ่นได้ ๔ ประเภท คือ

  • วรรณกรรมพื้นบ้านภาคเหนือ (วรรณกรรมล้านนา)
  • วรรณกรรมพื้นบ้านภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
  • วรรณกรรมพื้นบ้านภาคใต้
  • วรรณกรรมพื้นบ้านภาคกลาง


จำแนกตามวิธีการบันทึก ได้ ๒ ประเภท คือ
  • วรรณกรรมมุขปาฐะ หมายถึง วรรณกรรมที่ใช้วิธีเล่าจากปากต่อปาก ไม่มีการบันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร
  • วรรณกรรมลายลักษณ์อักษร หมายถึง วรรณกรรมที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษร


บล็อกนี้ใช้สำหรับวิชาวรรณกรรมท้องถิ่น

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น